วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สารคดีเกี่ยวกับอิสราเอล


สารคดีเกี่ยวกับอิสราเอล 
นำเสนอโดย มูลนิธิสื่่อใจไทย









รายการพื้นที่ชีวิต

วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วัฒนธรรม

http://th.wikipedia.org 

วัฒนธรรมอิสราเอลอ่านเพิ่มเติมได้เวปนี้คะ


อิสราเอล (อังกฤษIsraelฮีบรูיִשְׂרָאֵל‎; อาหรับإِسْرَائِيل‎) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐอิสราเอล (อังกฤษState of Israelฮีบรูמְדִינַת יִשְׂרָאֵל‎; อาหรับدَوْلَة إِسْرَائِيل‎) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง ชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ปกครองในระบอบสาธารณรัฐแบบมีรัฐสภา มีพรมแดนทิศเหนือติดเลบานอน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดซีเรียทิศตะวันออกติดจอร์แดนและเวสต์แบงก์ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดอียิปต์และฉนวนกาซา และทิศใต้ติดอ่าวอกาบาในทะเลแดง และมีภูมิลักษณ์ทางภูมิศาสตร์หลากหลายภายในพื้นที่ที่ค่อนข้างเล็ก[1][2]กฎหมายพื้นฐานของอิสราเอลจำกัดความว่า อิสราเอลเป็นรัฐยิวและประชาธิปไตย และเป็นรัฐที่มีชาวยิวเป็นประชากรส่วนใหญ่ประเทศเดียวในโลก[3]
ศูนย์กลางทางการเงินของอิสราเอลอยู่ที่เทลอาวีฟ[4] ขณะที่เยรูซาเล็มเป็นนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศและเป็นเมืองหลวง แม้จะไม่ได้รับการรับรองจากนานาประเทศ ประชากรอิสราเอล ตามที่นิยามโดยกรมสถิติกลางอิสราเอล ประเมินไว้เมื่อ พ.ศ. 2555 อยู่ที่ 7,941,900 คน ในจำนวนนี้ 5,985,100 คนเป็นชาวยิว ชาวอาหรับเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของประเทศ โดยมีประชากร 1,638,500 คน รวมทั้งดรูซและเบดูอิน[5][6] ชาวอาหรับอิสราเอลส่วนใหญ่เป็นมุสลิมที่ตั้งถิ่นฐาน โดยมีส่วนที่น้อยกว่าแต่ยังถือว่ามีจำนวนมากเป็นชาวเบดูอินเนเกฟและคริสต์ศาสนิกชนอาหรับที่กึ่งตั้งถิ่นฐาน (semi-settle) ชนกลุ่มน้อยอื่นยังมีเชื้อชาติและนิกายเชื้อชาติ-ศาสนาอีกเป็นจำนวนมาก
อิสราเอลปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยมีระบบรัฐสภา การมีผู้แทนตามสัดส่วนและสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป[7] นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล และเนสเซทเป็นองค์การบริหารอำนาจนิติบัญญัติสภาเดี่ยวของอิสราเอล อิสราเอลมีความคาดหมายการคงชีพสูงสุดประเทศหนึ่งในโลก[8] อิสราเอลเป็นประเทศพัฒนาแล้ว สมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา[9] และเศรษฐกิจของอิสราเอล ใหญ่เป็นอันดับที่ 41 ของโลก ตามผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศราคาตลาดใน พ.ศ. 2554 อิสราเอลมีมาตรฐานการครองชีพสูงสุดในตะวันออกกลาง[10]

การแบ่งเขตการปกครอง

อิสราเอล เวสต์แบงก์ และ ฉนวนกาซา
ประเทศอิสราเอลแบ่งเป็น 6 เขต (เมโฮซอต [mehozot]; เอกพจน์ เมฮอซ [mehoz]) และ 13 เขตย่อย (นาฟอต [nafot]; เอกพจน์ นาฟา [nafa])
  • เขตเหนือ (North District หรือ Mehoz HaZafon เมฮอซฮาซาฟอน)
    • เมืองเอก: นาซาเรธ (Nazareth)
    • เซฟัต (Zefat)
    • คินเนเรต (Kinneret)
    • ยิซเรเอล (Yizre'el)
    • อัคโค (Akko)
    • โกลัน (Golan)
  • เขตไฮฟา (Haifa District หรือ Mehoz Hefa เมฮอซเฮฟา)
    • เมืองเอก: ไฮฟา
    • ไฮฟา (Haifa)
    • ฮาเดรา (Hadera)
  • เขตกลาง (Center District หรือ Mehoz HaMerkaz เมฮอซฮาเมอร์คาซ)
    • เมืองเอก: รามลา
    • ชารอน (Sharon)
    • เปตาห์ติกวา (Petah Tiqwa)
    • รามลา (Ramla)
    • เรโฮวอต (Rehovot)

ประชากร


กรุงเยรูซาเลม เมืองที่มีประชากรมากที่สุดในอิสราเอล
มีจำนวนประมาณ 6 ล้านคน ร้อยละ 90 อาศัยอยู่ในเขตเมืองที่ทันสมัย แต่ก็มีบางส่วนที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองเก่า ส่วนประชากรอีกร้อยละ 6 อยู่ในชนบทโดยเป็นสมาชิกสหกรณ์ 2 ลักษณะคือ คิบบุตซ์ และโมชาฟ ชาวอิสราเอลมีหลายชาติพันธ์ ทั้งชาวยิว และชนอาหรับพื้นเมือง รวมทั้งชาวยิวที่อพยพมาจากยุโรป แอฟริกา เอเชีย และประเทศตะวันออกกลางอื่น ๆ ประชากรส่วนใหญ่ อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ ๆ อาทิ เทลอาวีฟ เยรูซาเล็ม และไฮฟา ที่เหลือกระจัดกระจายตามพื้นที่การเกษตรทั่วประเทศชาวอิสราเอล ร้อยละ 82 นับถือศาสนายูดาย (Judaism) ที่เหลือนับถือศาสนาอิสลาม (14 %) คริสต์ (2%) อายุเฉลี่ย 79.46 ปี ชาย 77.33 ปี หญิง 81.7 ปี อัตราการเขียนออกอ่านได้ ร้อยละ 95.4

[แก้]เชื้อชาติ

ยุโรป 32.1% อิสราเอล 20.8% อาหรับ 19.9% แอฟริกา 14.6% เอเชีย 12.6%

[แก้]วัฒนธรรม

อิสราเอลมีวัฒนธรรมทั้งเก่า และใหม่ผสมผสานกัน กล่าวคือ วัฒนธรรมโบราณของยิวที่เก่าแก่กว่า 4000 ปี และวัฒนธรรมใหม่ที่เกิดจากการหลั่งไหลของชาวยิวจากทั่วโลกที่กลับเข้าไปตั้งถิ่นฐานในอิสราเอลภายหลังการก่อตั้งรัฐอิสราเอล เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2491 ชาวอิสราเอลร้อยละ 90 อาศัยอยู่ในเขตเมืองที่ทันสมัย แต่ก็มีบางส่วนที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองเก่า ส่วนประชากรอีกร้อยละ 6 อยู่ในชนบทโดยเป็นสมาชิกสหกรณ์ 2 ลักษณะคือ คิบบุตซ์ และโมชาฟ

[แก้]ศาสนา

ส่วนใหญ่นับถือศาสนายูดาห์ 80.1% ศาสนาอิสลาม 14.6% ศาสนาคริสต์ 2.1% ศาสนาบาไฮ และอื่น ๆ อีก 3.2%


เศรษฐกิจ

ระบบเศรษฐกิจอิสราเอลมีลักษณะผสมผสานระหว่างการที่รัฐเข้าไปมีบทบาทควบคุมกิจการที่มีกำลังการผลิตและการจ้างงานสูง ขณะที่ภาคเอกชนก็สามารถมีกิจการได้โดยเสรี โดยทั่วไปแล้ว เศรษฐกิจของอิสราเอลจะอยู่ใต้อิทธิพลของความจำเป็นด้านความมั่นคง
  • ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ต้นไม้ ธาตุทองแดง โปแตช ก๊าซธรรมชาติ หินฟอสเฟต โบรมีน
  • อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 1.9 (ปี 2549)
  • อัตราผู้ว่างงาน ร้อยละ 8.5 (ปี 2549)
  • สินค้าส่งออกที่สำคัญ เครื่องจักรและอุปกรณ์ software เพชรเจียระไน ผลิตภัณฑ์เกษตร เสื้อผ้า
  • สินค้านำเข้าที่สำคัญ วัตถุดิบ อาวุธยุทโธปกรณ์ เชื้อเพลิง เพชร เมล็ดข้าว สินค้าอุปโภคบริโภค
  • ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เยอรมนี เบลเยี่ยม สวิตเซอร์แลนด์ จีน ฮ่องกง
    • ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เบลเยี่ยม ฮ่องกง สหราชอาณาจักร
    • ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เบลเยี่ยม เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร

อาหาร


โคเชอร์ (KOSHER) อาหารของชาวยิว


ปฐมบทแห่งโคเชอร์ (KOSHER)

โคเชอร์ (Kosher) หมายถึงอาหารคนยิว ซึ่งอาจจะต้องขยายความอีกหน่อยว่าเป็นอาหารของคนยิวผู้เคร่งศาสนา ทีนี้จะดูได้อย่างไรว่าเคร่งหรือไม่เคร่ง ง่ายครับ ถ้าใส่หมวกละก็ ไม่ว่าจะหมวกใหญ่ หมวกเล็ก สีดำ สีฟ้า หรือสีขาวก็ตาม จะต้องหาโคเชอร์รับประทานกันทุกคน

ถ้าจะกล่าวถึงอาหารโคเชอร์กันเลยก็ไม่สนุก ต้องกล่าวถึงความเป็นมาของชนชาติยิวและศาสนาของเขาเสียก่อน จะได้ทราบความเป็นมาได้ดีขึ้น

ประวัติศาสตร์ยิว 

ชาวยิวนับถือท่านอับราฮัมเป็นบรรพบุรุษของชนชาติ และเชื่อว่าพระเจ้าได้มีพันธสัญญากับท่านอับราฮัมว่า พระเจ้าทรงเลือกชนชาติยิวเป็นประชาชนของพระองค์ และเพื่อเป็นการตอบแทนพระเจ้า ชาวยิวก็สัญญาว่าจะเคารพกฎบัญญัติของพระองค์และเผยแผ่คำสอนของพระองค์ ออกไปสู่ชนชาติอื่น

ดินแดนดั้งเดิมในประวัติศาสตร์ของชนชาติยิวตั้งแต่สมัยของท่านอับราฮัมนั้น อยู่ที่เคนัน ซึ่งปัจจุบันก็คือ ดินแดนฉนวนกาซาหรือที่ตั้งของประเทศอิสราเอลในปัจจุบันนั่นเอง ต่อมาได้อพยพลงไปอยู่ในอียิปต์เพื่อหนีความอดอยาก อยู่ที่นี่นานถึง 500 ปี แต่ยิ่งนานยิ่งแย่ เพราะถูกกดขี่ ถูกใช้เป็นทาสต่าง ๆ นานาจนทนไม่ไหว ในที่สุดศาสดาโมเสสก็เป็นผู้นำชาวยิวอพยพกลับมาอยู่ที่ดินแดน เคนันถิ่นเก่าอีก

หากท่านผู้อ่านเคยชมภาพยนต์เรื่อง บัญญัติ 10 ประการ (Ark of the Convenant) ก็คงพอเข้าใจเรื่องราว ในช่วงนี้ โดยเฉพาะไคลแมกซ์ของเรื่องคือตอนที่ศาสดาโมเสสอาศัยอิทธิฤทธิ์ของพระเจ้าแยกน้ำทะเลออกเป็นช่อง เพื่อให้ชนชาติยิวข้ามทะเลจากอียิปต์มาฉนวนกาซาได้

วันที่ชาวยิวอพยพครี้งนี้ถือเป็นวันสำคัญทาง ศาสนาด้วย เรียกว่า วันเปสัช หรือวัน Passover อาหารที่รับประทานกันในวันเปสัชนี้มีพิเศษกว่าวันธรรมดาด้วย

การกลับมาอยู่ดินแดนเคนันครั้งนี้ ชนชาติยิวเจริญรุ่งเรื่องขึ้นมาก มีกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ พระองค์คือท่าน ซอล เดวิด และโซโลมอน ซึ่งบางท่านอาจจะคุ้นชื่อของกษัตริย์โซโลมอน เนื่องจากมีภาพยนต์เรื่องหนึ่งชื่อ 'ขุมทรัพย์โซโลมอนเรื่องนี้ตรงกับนวนิยายที่แปลเป็นไทยโดย คุณมาลัย ชูพินิจ ชื่อ 'สมบัติพระศุลี'

กรุงเยรูซาเลมเกิดขึ้นในช่วงนี้และเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรยิว

ที่ไหนมีเจริญที่นั่นก็ต้องมีเสื่อม เมื่อสิ้นยุคของกษัตริย์โซโลมอน ดินแดนเคนันก็ถูกรุกรานและปกครองโดยชนชาติอื่นอีกหลายครั้ง ชื่อ เคนัน ก็ถูกเปลี่ยนเป็น ปาเลสไตน์ พอถึง587 ปีก่อนคริสต์ศักราช ชาวบาบิโลเนียก็ยกกองกำลังเข้ายึดกรุงเยรูซาเลม ซึ่งตอนนั้นชาวอัสซีเรียปกครองอยู่ แต่ชาวบาบิโลเนียนั้นรังเกียจชาวยิว เมื่อยึดครองได้แล้วก็ขับไล่ชาวยิวออกไปจากดินแดน และเป็นเหตุให้ชาวยิว กระจัดกระจายไปอยู่ทุกมุมโลกมาถึงบัดนี้

ไปอยู่ที่ไหนก็ถูกรังเกียจอยู่เรื่อย ในปี ค.ศ. 1492 ชาวยิวถูกขับไล่ออกจากสเปน ชาวยิวต้องคอยหวาดผวาจากการคุกคามของลัทธิต่อต้านยิวอยู่ตลอด ในช่วง ค.ศ. 1933-1945 (สงครามโลกครั้งที่สอง) กองทัพนาซีได้สังหารชาวยิวตามค่ายกักกันต่าง ๆ กว่า ล้านคน ในช่วงนี้มีชาวยิวในยุโรปหนีตายไปอยู่สหรัฐอเมริกามากมาย ประมาณว่ามีจำนวนกว่าล้านคน สหรัฐอเมริกาจึงเป็นประเทศหนึ่งที่มีคนเชื้อสายยิวอาศัยอยู่มาก
                      
ศาสตราจารย์เชื้อสายยิวผู้โด่งดัง คือ แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เจ้าของสมการ E=mc2 อันลือลั่น มีชีวิตวัยหนุ่มอยู่ในช่วงนั้นก็กลัวพวกเยอรมันอยู่ไม่น้อย ต้องย้ายหนีไปอยู่ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี หลายปี ภายหลังที่สงครามสงบท่านได้ไปอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต

เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง นานาประเทศสงสารชาวยิวที่ถูกสังหารอย่างโหดเหี้ยม จึงสนับสนุนลัทธิฟื้นฟูประเทศของชาวยิวที่เรียกว่า Zionism ขึ้น เนื่องจากชาวยิวเชื่อว่า ดินแดนปาเลสไตน์เป็นดินแดนที่พระเจ้ามอบให้เป็นของชาวยิวตลอดกาล จึงพากันอพยพกลับมาอยู่ปาเลสไตน์ถิ่นเก่าแก่อีกครั้งหนึ่ง โดยการซื้อที่ดินจากพวกอาหรับ 1,375,000ไร่ ด้วยราคาแพงลิบลิ่วจากการโก่งราคาของพวกอาหรับ แล้วประกาศตั้งประเทศอิสราเอลขึ้นในปี ค.ศ. 1948 โดยใช้ภาษาฮีบรู (Hebrew) เป็นภาษาประจำชาติ
แต่ไม่ง่ายนัก เพราะก่อนชาวยิวจะกลับมานั้นดินแดนแห่งนี้เป็นของประเทศปาเลสไตน์ ซึ่งเป็นชาวอาหรับชนชาติหนึ่ง มิเพียงแต่ชาวปาเลสไตน์เท่านั้นที่ได้รับผลกระทบจากชาวยิวในอิสราเอล ชาวอาหรับบริเวณใกล้เคียงที่เห็นอิสราเอลพัฒนาประเทศเจริญรุ่งเรื่องอย่างรวดเร็วก็พากันอิจฉา นำกองกำลังบุกจะเอาดินแดนที่เคยขายไปคืนมา กลายเป็นสงครามแย่งดินแดน กันอย่างยาวนานหลายปี ในตอนเริ่มสงครามอิสราเอลเป็นฝ่ายถูกโจมตีก่อน แต่เมื่ออิสราเอลเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะในการรบ อิสราเอลก็ฮึกเหิมพาลยกกองกำลังบุกยึดครองขยายดินแดนเพิ่มขึ้น ทำให้มีดินแดนใหญ่กว่าเดิมถึง เท่า ชาวปาเลสไตน์นั้นสู้ไม่ได้ ทำให้ชาวปาเลสไตน์ต้อง ลี้ภัยไปอาศัยประเทศอาหรับข้างเคียงมากมาย ในปี ค.ศ. 1964 มีการก่อตั้งองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ (Palestine Liberation Organization) หรือพีแอลโอ ขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนชาวปาเลสไตน์ในการต่อสู้แย่งดินแดนคืนมาจากชาวยิว ผู้นำของพีแอลโอคือ นายยัตเซอร์ อาราฟัด ในที่สุดก็หา ทางออกด้วยการทำความตกลงกันว่าอิสราเอลยอมให้ชาวปาเลสไตน์มีสิทธิปกครองตนเองได้ในดินแดนยึดครอง ข้อตกลงนี้เรียกว่า กาซา-เจริโค (Gaza-Jericho agreement) มีขึ้นในปี ค.ศ. 1994 จากนั้นมาสงครามจึงยุติลง

สรุปว่า คนยิวมีประเทศเป็นของตนเอง ชื่อ อิสราเอล แต่วิธีการยึดครองดินแดนเพื่อตั้งประเทศนั้นห้ามเลียนแบบ อิรักเคยเลียนแบบจะเอาคูเวตคืนมาก็โดนรุมจนอ่วมอรทัยมาจนถึงบัดนี้


ศาสนายูดาย 


ศาสนาที่ชนชาติยิวนับถือ คือศาสนายูดาย คัมภีร์ที่บันทึกคำสอนของศาสนาเรียกว่า คัมภีร์โตราห์ (Torah) ซึ่งเก็บไว้ในลักษณะม้วนกระดาษยาว ภาษาที่ใช้ในคัมภีร์คือภาษาฮีบรู คัมภีร์โตราห์เป็นคัมภีร์ที่สำคัญที่สุดสำหรับ ชาวยิว

นักบวชในศาสนายูดายเรียกว่า แรบไบ (Rabbi) มีหน้าที่ในการอบรมสั่งสอนและอธิบายกฎบัญญัติในศาสนา
                                               


ชาวยิว ชาวคริสต์ และชาวมุสลิม นับถือพระเจ้าองค์เดียวกัน คือพระอัลเลาะห์ คัมภีร์โตราห์นั้นเป็นคัมภีร์ เล่มแรกในศาสนาคริสต์ ศาสดาโมเสสผู้พาชาวยิวออกจาก อียิปต์เป็นผู้ที่ได้รับความศรัทธาจากทั้งชาวคริสต์และชาวมุสลิม แต่ชาวมุสลิมมีมาตรฐานอาหารตามศาสนาเป็นของตนเอง เรียกว่า ฮาลาล (Halal)
โตราห์ (อังกฤษ:Torah ฮีบรู:תּוֹרָה)เป็นคำในภาษาฮีบรู หรือเตารอต ในภาษาอาหรับ หมายถึง การสอน คำสั่ง หรือกฎ เป็นชื่อที่ใช้เรียกพระธรรมห้าเล่มของโมเสสหรือที่รู้จักกันในชื่อบัญญัติของโมเสส หรือเพนทาทิช (Pentateuch; เป็นชื่อภาษากรีกหมายถึง ที่บรรจุห้าอัน ซึ่งก็คือม้วนหนังสือโบราณที่ใช้บันทึก) เรียกในภาษาไทยว่าคัมภีร์พระธรรมเก่า เป็นคัมภีร์ที่พระผู้เป็นเจ้าประทานลงมาแก่ศาสดามูซา หรือโมเสสโตราห์ ในภาษาฮิบรูแปลว่า คำสั่งสอน หรือ บทบัญญัติ เขียนด้วยภาษา
ฮิบรู
ในเวลาปัจจุบันชาวยิวและชาวคริสเตียนยังคงใช้คัมภีร์นี้อยู่ ในขณะที่ชาวมุสลิมเชื่อว่าคัมภีร์นี้ถูกบิดเบือน ตัดตอน และต่อเติมเสริมแต่ง อีกทั้งบทบัญญัติหลายประการก็ถูกยกเลิกไปแล้ว และพระผู้เป็นเจ้าได้ประทานอัลกุรอานลงมาแล้ว ชาวมุสลิมจึงไม่ได้ใช้คัมภีร์นี้

ศาสนายูดายมีจุดหมายเพื่อสร้างชีวิตที่เที่ยงธรรมและสงบสุข คัมภีร์โตราห์สอนไว้ว่า การจะบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว สิ่งสำคัญที่สุดคือ ต้องมีความประพฤติที่ถูกต้อง ชาวยิวที่เคร่งศาสนาถือกฎ
บัญญัติหลายประการเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวัน ซึ่งรวมถึงการแต่งตัวและการรับประทานอาหาร อันเป็นที่มาของมาตรฐานโคเชอร์
โคเชอร์
คำสอนในศาสนายูดายมีข้อกำหนดเกี่ยวกับอาหารไว้ใช้พิจารณาว่า อาหารนั้นเป็นไปตามหลักศาสนาและยอมรับได้หรือไม่ ข้อกำหนดเกี่ยวกับอาหารเรียกว่า kashruth อาหารที่เหมาะสม เป็นไปตามข้อกำหนด และได้รับอนุญาตให้รับประทานได้เรียกว่า โคเชอร์ คำว่าโคเชอร์มีรากศัพท์มาจากภาษาฮีบรูว์ แปลว่า เหมาะสม แต่โดยความหมายในปัจจุบันหมายถึง "อาหาร"

มีคนไม่น้อยที่เข้าใจผิดว่า อาหารที่ผ่านพิธีสวดของแรบไบมาแล้วเป็นโคเชอร์ แต่ความจริงไม่ใช่ พิธีการทางศาสนาระบุว่า ทุกคนที่นับถือศาสนายูดาย ซึ่งไม่เพียงแต่แรบไบเท่านั้น ต้องสวดมนต์ก่อนการรับประทานอาหาร เพื่อระลึกถึงพระคุณของแหล่งอาหาร ดังนั้นการสวดจึงไม่เกี่ยวข้องกับกรณีที่ว่าอาหารนั้นจะเป็นหรือไม่เป็นโคเชอร์

สิ่งที่เป็นเครื่องวัดว่าอาหารนั้นเป็นหรือไม่เป็นโคเชอร์ได้แก่ แหล่งวัตถุดิบ และเครื่องครัว ซึ่งในปัจจุบันหมายถึงภาชนะ เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตอาหารด้วย การจะรับรองว่าอาหารนั้นเป็นโคเชอร์หรือเปล่า ก็ต้องใช้สองสิ่งนี้เป็นหลักในการพิจารณา ใครเป็นคนพิจารณา เมื่อก่อนนี้แรบไบเป็นผู้พิจารณาตัดสิน แต่เดี๋ยวนี้มีบริษัทที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำแนะนำ ตรวจสอบ และออกหนังสือรับรอง คือเป็น Kosher auditor คล้าย ๆ กับบริษัท ที่ให้บริการ ISO Auditor นั่นแหละครับ บริษัทพวกนี้เป็นผู้ได้รับอนุญาตจากแรบไบอีกที (Orthodox Rabbinic authorityแหล่งวัตถุดิบ) 
แนวทางในการพิจารณา 'แหล่งวัตถุดิบอาหารว่าเหมาะสมที่จะเป็นโคเชอร์หรือไม่ มีระบุไว้ในคำภีร์โตราห์แล้ว ซึ่งแรบไบรุ่นหลังได้ตีความและขยายความในรายละเอียด จัดหมวดหมู่ และอธิบายกฎเกณฑ์ที่ใช้ในปัจจุบันขึ้น อาหารหมวดสำคัญ ๆ ได้แก่ เนื้อจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ปีก และปลา

เนื้อจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม    
ที่อนุญาตได้แก่เนื้อจากสัตว์เคี้ยวเอื้องหรือเท้ามีกีบ ยกเว้นหมู

สัตว์ปีก ในคัมภีร์ไม่ได้ระบุไว้ว่าสัตว์ปีกชนิดใดอนุญาตให้รับประทานได้ แต่ได้ห้ามไว้ 24 ชนิด ตามหลักใหญ่ของศาสนาที่เรียกว่า Shulchan Aruch อนุโลมให้ถือว่า สัตว์ปีกชนิดใดที่ได้รับประทานกันเป็นประเพณีมาช้านานแล้วเป็นโคเชอร์ ยิวในสหรัฐอเมริกาถือว่า ไก่ ไก่งวง เป็ด และห่าน เป็นโคเชอร์

ปลา ปลาที่อนุญาตให้รับประทานได้ มีหลักเกณฑ์แต่เพียงต้องเป็นปลามีครีบและเกล็ด สัตว์น้ำที่มีเปลือกหรือกระดอง เช่น หอย ปู กุ้ง ไม่ได้รับอนุญาต ยกเว้นอาหารทะเล เช่น กุ้ง ลอบสเตอร์ เหล่านี้เป็นโคเชอร์ได้

องุ่นและผลิตภัณฑ์จากองุ่น องุ่นที่เป็นผลไม้ ธรรมชาตินั้นเป็นโคเชอร์ แต่ผลิตภัณฑ์จากองุ่นจะต้องได้รับการพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป ไวน์จากองุ่นเป็นเครื่องดื่มที่ใช้ในพิธีทางศาสนา จึงถือว่าเป็นโคเชอร์ไปโดยปริยาย แต่ผลิตภัณฑ์จากองุ่นอื่น ๆ จะต้องทำจากน้ำองุ่นที่ได้รับการตรวจตราโดยตลอดตั้งแต่ต้นจนจบเท่านั้นถึงจะเป็น ผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในข่ายพิจารณาให้การรับรองโคเชอร์

ชีส เช่น Cheddar, Muenster, Swiss พวกนี้จะได้รับการรับรองได้ก็ต่อเมื่ออยู่ภายใต้การตรวจสอบของ แรบไบอย่างสม่ำเสมอ โรงงานชีสโดยทั่วไปมักใช้เยื่อในจากกระเพาะวัวใส่ลงในนมเพื่อให้นมจับตัวกันเป็นก้อนแล้ว ตกตะกอนเป็นชีส แต่เยื่อในกระเพาะวัวไม่ได้เป็นโคเชอร์ ชีสที่เป็นโคเชอร์จะต้องได้จากการตกตะกอนด้วยเชื้อจุลินทรีย์เท่านั้น

ผักและผลไม้ โดยทั่วไปเป็นโคเชอร์ แต่ต้องปราศจากหนอนและแมลง


เครื่องครัว 

เครื่องครัวในที่นี้หมายรวมถึงภาชนะ เครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาหาร ตลอดจนเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตอาหาร

เครื่องครัวที่เคยใช้ทำอาหารที่ได้รับการรับรองแล้วว่าเป็นโคเชอร์ หากนำมาใช้ทำอาหารที่มีส่วนประกอบไม่เป็นโคเชอร์ เครื่องมือนั้นก็หมดสถานภาพโคเชอร์ไป หากนำกลับมาใช้ทำอาหารที่เป็นโคเชอร์อีก อาหารที่ได้ก็จะไม่ใช่ โคเชอร์อีกต่อไป แม้ว่าส่วนประกอบที่นำมาทำอาหารทั้งหมดจะเป็นโคเชอร์ก็ตาม เรียกว่าเสียงานไปเลย ดังนั้นถ้าจะให้ดี เครื่องครัวระหว่างอาหารโคเชอร์และอาหารอื่น ๆ จึงควรจะแยกกัน

แต่การทำให้เครื่องครัวที่เคยปรุงอาหารที่ไม่เป็น โคเชอร์ไปแล้ว กลับมามีสถานภาพปรุงอาหารโคเชอร์ได้อีกก็ทำได้นะครับ กระบวนการคืนสถานภาพโคเชอร์ให้เครื่องมือนี้เรียกว่า Kosherization มีวิธีการต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับเครื่องครัวและลักษณะของอาหาร ถ้าอาหารที่ไม่ใช่โคเชอร์เป็นของเหลว เช่น น้ำซุป วิธีการ Kosherization คือลวกเครื่องครัวพวกนั้นด้วยน้ำเดือด ถ้าเป็นอาหารที่ใช้เตาอบ การ Kosherization ทำได้โดยนำภาชนะที่ใส่อาหารอันไม่เป็นโคเชอร์นั้นมาอบด้วยความร้อนสูง เป็นต้น

เนื้อสัตว์จะเป็นโคเชอร์ได้หรือไม่นั้น ต้องมีการ ตรวจสอบตั้งแต่โรงฆ่าสัตว์ ไปจนถึงร้านขาย พนักงานที่เกี่ยวข้องตั้งแต่โรงฆ่าสัตว์ไปจนถึงคนขายเนื้อก็ต้องได้รับการฝึกอบรมด้วยค่ะ

นอกจากนี้ ยังมีเงื่อนไขบางอย่างประกอบด้วยอีก เช่น ผลิตภัณฑ์นม ตามกฎบัญญัติมีว่าจะต้องไม่ปรุงนมรวมกับเนื้อสัตว์ เวลารับประทานจะต้องรับประทานห่างกันอย่างน้อย 4ชั่วโมง ภาชนะที่ใช้กับเนื้อสัตว์และนมจะต้องแยกเป็นคนละชุดกัน เป็นต้น

มีศัพท์ภาษาฮีบรู คือ พาร์เอเว (Pareve) หรือพาร์เว (Parve) ตามรากศัพท์แปลว่า เป็นกลาง (neutral) ชาวยิวนำมาใช้หมายถึงอาหารที่ไม่มีเนื้อของสัตว์ประเภท วัว ควาย เป็ด ไก่ และนม เป็นส่วนผสม อาหารที่อยู่ในข่ายพาร์เอเวนั้นสามารถรับประทานพร้อมกันได้กับอาหารประเภทเนื้อสัตว์หรือนม โดยไม่ต้องเว้นช่วงห่างกันนาน ชั่วโมง
ผลิตภัณฑ์ที่มีนมเป็นส่วนผสมอย่าง ไอศกรีม คุกกี้ แคร็กเกอร์ นั้นไม่ใช่พาร์เอเวแน่นอน ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มี ส่วนประกอบเป็นนมและเนื้อสัตว์เลยแต่ไม่เป็นพาร์เอเวก็มี เนื่องจากใช้เครื่องจักรเดียวกันกับเครื่องจักรที่ใช้ผลิตผลิตภัณฑ์นม

ไข่จากสัตว์ที่ไม่ใช่โคเชอร์ก็ไม่เป็นโคเชอร์เช่นกัน ไข่ไก่ไข่เป็ดเป็นโคเชอร์ แต่ถ้ามีเลือดติดอยู่ไข่นั้นก็ไม่เป็น โคเชอร์

การขอรับรองโคเชอร์เป็นเรื่องละเอียดอ่อนและ มีเงื่อนไขมากมายตลอดขั้นตอนการผลิต ส่วนประกอบ ทุกชนิดต้องผ่านการพิจารณาตรวจตรา ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ ที่มีวัตถุเจือปนอาหารหรือ food additives ต่าง ๆ ผสม อยู่ด้วยแล้วก็ยิ่งซับซ้อนขึ้นไปอีก ผู้ที่ต้องการขอหนังสือ รับรองให้อาหารของตนเป็นโคเชอร์จึงไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากจะต้องอาศัยบริษัทที่ได้รับการแต่งตั้งจากแรบไบมาให้คำแนะนำตั้งแต่ต้นจนจบ
จริงๆแล้ว Kosher เป็นคำที่ใช้เรียกอาหารที่ผ่านข้อกำหนด kashruth โดยมีเกณฑ์การวัดอยู่ที่ แหล่งวัตถุดิบ และเครื่องครัว หมวดแหล่งวัตถุดิบคือ 

1.สัตว์เคี้ยงเอื้องมีกีบทุกชนิดเว้นหมู
2.สัตว์ปีกที่กินเป็นประเพณี จริงๆแล้วมีห้ามในShulchan Aruch (คัมภีร์กฎ)ถึง 24 ชนิด(แปลกๆทั้งนั้น)
3.ปลามีครีบและเกล็ด อาหารทะเล
4.องุ่นและผลิตภัณฑ์จากองุ่น
5.ชีส เช่น Chedda, Muenster, Swiss กินได้(ตกตะกอนด้วยเชื้อจุลินทรีย์เท่านั้น)
6.ผักและผลไม้
ชาวยิว มีมาตรฐาน Kosherเป็น อาหารที่คนยิวเคร่งๆ(รวมถึง พระ)รับประทาน พระคาธอลิค ไม่ได้มีการบังคับมาก เว้นแต่ ช่วงพิธีปัสกา

อิสราเอลไม่นิยมกินเผ็ดและเนื้อ นิยมกินผักสดๆเพื่อสุขภาพคะ