วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เทศกาล

เทศกาลต่างๆของอิสราเอลคะ


1. บาร์มิทซ์วาห์

เมื่อเด็กผู้ชายอายุ 13 ปี ตามกฎของยิวถือว่าโตพอที่จะถือรักษาพระบัญญัติต่างๆได้แล้ว และสามารถอ่านพระคัมภีร์โทราห์ออกเสียงดังในธรรมศาลาของวันสะบาโตแรก 
หลังจากวันเกิดของเขาเด็กชายชาวยิวจะต้องรู้ภาษาฮีบรู มีความรู้เกี่ยวกับศาสนายิว
พิธีกรรมต่างๆตลอดจนความเชื่อของศาสนายิวมากพอสมควร
-
พิธีบาร์มิทซ์วาห์ นิยมประกอบพิธีที่ เธอะ เวสเทิร์น วอลล์
-
การอ่านพระคัมภีร์โทราห์ ในพิธีมาร์มิทซ์วาห์ เด็กชายที่เข้าพิธีจะต้องสวม
ผ้าคลุมไหล่ผืนใหญ่ สำหรับการอธิษฐานและใช้ชายผ้าคลุมนั้นคั่นพระคัมภีร์
ตอนที่จะอ่าน และจะต้องระมัดระวังไม่ไปแตะถูกพระคัมภีร์ เขาจะต้องคาด
กล่องสีดำใบเล็กๆที่เรียกว่า "เทฟิลลิม" ไว้บนหน้าผากและแขนซ้ายใกล้หัวใจ
ในระหว่างประกอบพิธี ในกล่องนั้นบรรจุกระดาษแผ่นหนึ่งที่จารึกพระวจนะ
ที่เรียกว่า เชมา ไว้ คือ ฉธบ 6 : 4 - 8
-
ผ้าผืนใหญ่ที่ใช้คลุมระหว่างการอธิษฐานเรียก เทฟิลลิม ทาลลิต
-
"คิปปาห์" คือ หมวกกลมใบเล็กๆที่ผู้ชายยิวสวมคลุมศีรษะเสมอ เพื่อแสดงความ
เคารพนบนอบต่อพระเจ้า
2. วันสะบาโต (ชาบัต)

มีการถือรักษาวันสะบาโตทุกสัปดาห์ โดยเริ่มก่อนดวงอาทิตย์ตกดินในเย็นวันศุกร์
และจบลงหลังจากดวงอาทิตย์ตกในวันเสาร์
-
เป็นการระลึกถึงการทรงสร้างโลก เมื่อพระเจ้าทรงหยุดพักการทรงสร้างใน
วันที่เจ็ด นอกจากนั้นยังเป็นวันที่ระลึกกานที่พระเจ้าปลดปล่อยชาวฮีบร
ูจากการเป็นทาสในอียิปต์
-
ชาบัต เริ่มต้นด้วยการที่แม่บ้านจุดเทียนอย่างน้อย 2 เล่มขึ้น จะทักทายด้วยคำว่า
ชาบัต ชาโลม" แปลว่า "สันติสุสข ในวันสะบาโตจงมีแด่ท่าน"
-
ในตอนเย็นทุกคนในครอบครัวจะทานอาหารมื้อพิเศษร่วมกัน
เริ่มด้วยการขอพระพรจากพระเจ้าและดื่มเหล้าองุ่น และขอพรสำหรับวันนั้น
เป็นพิธีที่เรียกกันว่า "คิดดุช" การอธิษฐานเริ่มด้วย
"สรรเสริญองค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ทั้งหลาย
ผู้ทรงเป็นกษัตริย์ของสากลจักรวาล ผู้ทรงสร้างผลของเถาองุ่น...."
-
อาหารมื้อนั้นจะเริ่มด้วยการขอพระพรสำหรับขนมปัง ซึ่งประกอบด้วยขนมปัง
อบพิเศษ 2 แถวมาพันหรือถักไขว้กัน เรียกว่า "คาลาท์" ซึ่งเป็นสัญลักษณ์
แทนมานา 2 เท่าที่เก็บในวันก่อนวันสะบาโต
-
วันสะบาโตจบลงด้วยพธีกรรมเล็กๆ อีกพิธีหนึ่งเรียกว่า "ฮาฟดาลลาห์"
หมายถึง "การแบ่งแยก" 3โดยผู้เป็นพ่อจะสรรเสริญพระเจ้า
ผู้ทรงแยกวันสะบาโตจากวันอื่นๆของสัปดาห์ และทรงแยกอับราฮัม
ออกจากชนชาติอื่นๆ โดยถือไส้เทียนที่จุดไว้แล้ว เอามือป้องไว้เป็นสัญลักษณ์ เทียนที่ถักไว้เป็นพิเศษจะถูกจุดขึ้นกล่องบรรจุเครื่องเทศหอมหวานนี้จะเป็น
สัญลักษณ์แสดงถึงกลิ่นอันหอมหวานของวันสะบาโต แล้วจะรินเหล้าองุ่น
รดเทียนไขเล่มหนึ่งนั้น ทุกคนในครอบครัวก็จะอวยพรกันและกันให้สัปดาห์ที่
จะมาถึงนั้นเป็นพรแก่ทุกคน
3. โรช ฮาชานาห์


วันขึ้นปีใหม่ของชาวยิว เรียกกันว่า "โรช ฮาชานาห์" แปลว่า "ต้นปี"
ตรงกับเดือนกันยายน หรือตุลาคม เป็นวันแรกของปีตามปฏิทินที่ประชาชนใช้กัน 

ในช่วงอาหารเย็นก่อนวันโรช ฮาชานาห์ 1 วัน ทุกคนจะจิ้มชิ้นแอปเปิ้ลลงในน้ำผึ้ง
และกินแอปเปิ้ลนั้น เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนความหวังใจว่า ปีที่จะมาถึงจะมีแต่
ความรุ่งโรจน์และหวานชื่น
วันนี้ที่เวสเทิรน วอลล์ และในธรรมศาลาของชาวยิวทั่วทุกแห่งจะมีเป่าแตรเขาแกะ
เรียกว่า "โชฟาร์" เพื่อเตือนใจประชาชนถึงแกะตัวผู้ที่อับราฮัมถวายเป็นเครื่องบูชา
แทนอิสอัค และยังแสดงถึงความเชื่อฟังต่อพระบัญชาในพระคัมภีร์ และยังเป็นการ
เตือนว่า วันลบมลทินมาใกล้แล้วเพื่อเขาจะเตรียมตัวให้พร้อม


4. ยม คิปปูร์

10 วันหลังจากวัน โรช ฮาชานาห์ คือ "วันลบมลทิน" (ลวต 23 : 27 - 28)
ในปี 2012  เทศกาลวันลบมลทินบาป(ยม คิปปูร์-Yom Kippur) เป็นช่วง 10วันแห่งความยำเกรงพระเจ้า(Day of Awe) วันที่ 1-10 Tishrei หรือวันที่ 16-26 ก.ย.12  และวันที่ 26 ก.ย.เป็นวันลบมลทินบาป(Yom Kippur)  เพื่อเตือนเราว่าพระเยซูทรงชดใช้บาปทั้งสิ้นแทนเรา 
"เทศกาลลบมลทินบาป" (The Day of Atonement) วันแห่งการลบมลทินบาปนี้ ถือว่าเป็นเวลาส่วนตัวที่เล็งถึงแต่ละคนจะยืนขึ้นต่อหน้าพระเจ้าที่ทรงประทับบนบัลลังก์การพิพากษาและร้องขอการอภัยบาป และการชำระบาป เป็นเทศกาลที่เน้นการใคร่ครวญทางจิตวิญญาณ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเสด็จกลับมาพิพากษาและปกครองโลก
ในสมัยก่อนนั้นวันที่บริสุทธิที่สุดของชาวอิสราเอลในรอบปีคือ ยมคิปปูร์ (Yom Kippur)
หรือวันลบมลทินบาป ซึ่งในวันนี้นั้น มหาปุโรหิตจะเข้าไปในห้องอภิสุทธิสถาน เพื่อถวายสัตวบูชาและจะขอการอภัยโทษ ความบาปผิดทั้งบาปที่ได้ทำเป็นการส่วนตัวหรือบาปของคนส่วนรวมทั้งประเทศ

5. สุคคต

 

หลังจาก ยมคิปปูท์ ผ่านไปไม่นานมักจะเป็น "เทศกาลอยู่เพิง" สุคคตหมายถึง เพิง
หรือ พลับพลา เพิงที่สร้างขึ้นนี้ใช้เป็นเครื่องเตือนใจชาวยิวถึงการปกป้องของพระเจ้า
เมื่อบรรพบุรุษของพวกเขายังไม่มีบ้านเมืองถาวร แต่ต้องเดินทางเร่ร่อน
อยู่ในถิ่นทรุกันดาร หลังจากอพยพออกจากอียิปต์ ระหว่างพิธีในธรรมศาลา
ชาวยิวจะโบกกิ่งวิลโล กิ่งต้นน้ำมันเขียว กิ่งปาล์ม และผลส้มไปมา
เพื่อแสดงว่าพระเจ้าทรงอยู่ทุกหนทุกแห่งและทุกประเทศเขตแดน

6. ชิมหัต โทราห์

วันสุดท้ายของเทศกาล สุคคต เรียกว่า ชิมหัต โทราห์ หมายถึง "ชื่นชมยินดีในโทราห์"
จะมีการอ่านพระคำตอนสุดท้ายในเฉลยธรรมบัญญัติ และตอนแรกสุดของปฐมกาล
เพื่อนแสดงว่าพระวจนะของพระเจ้าไม่มีวันสิ้นสุด

7. ฮานุกะห์

คือเทศกาลแห่งแสงสว่าง ซึ่งตรงกับเดือน ธันวาคม และใกล้กับเทศกาลคริสต์มาส
เทศกาลนี้เป็นงานฉลองถวาย มหาวิหารที่ 2 ในสมัยมัคคาบี เมื่อปี 165 ก่อน
คริสตกาล.

8. เทศกาลเพสะห์ (เทศกาลปัสกา)


เทศกาลปัสกา หรือ ที่ชาวยิวเรียกว่า เพสะห์ เป็นการเฉลิมฉลองการที่ชาวฮีบรูหนีออก
จากแผ่นดินอียิปต์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคืนที่ทูตแห่ง ความตายผ่านบ้านของ
ชาวฮีบรูไป แต่เข้าไปบ้านของชาวอียิปต์เท่านั้น เทศกาลนี้อยู่ในช่วงเวลาเดียวกับ
เทศกาลอีสเตอร์ เขาจะกินขนมปังไร้เชื้อ เป็นสิ่งเตือนใจคือ ขนมปังแห่งความทุกข์ยาก

9. เซเด 




2 คืนแรกของเทศกาลเพสะห์ ครอบครัวชาวยิวจะมาชุมนุมกันเพื่อฉลองเซเด ช่วงนั้นพวกเขาจะอ่าน "ฮากาดาห์" หมายถึง การเล่าเรื่อง การเล่าเรื่องที่พระเจ้าทรง
ปลดปล่อยชาวฮีบรูจากการเป็นทาสในอียิปต์ (อพยพ 1 - 12)
ไข่ต้มสุกเตือนใจถึงการกำเนิดของชนชาติอิสราเอล
กระดูกแกะย่างเป็นสัญลักษณ์แทนลูกแกะในวันปัสกาที่เคยนำมาถวาย
บูชาในพระวิหาร
ผักสดเช่น แตงกวา เตือนให้รู้ว่านี่คืองานฉลองในช่วงฤดูใบไม้ผลิ
ฮาโรเซธซึ่งใช้แอปเปิ้ลสับ ถั่ว อบเชย และเหล้าองุ่นมาคลุกเคล้ากัน
เตือนให้ระลึกถึงโคลนที่ทาสชาวฮีบรูใช้ทำอิฐ
ให้ชาวอียิปต์ และเพื่อระลึกถึงอิสรภาพอันหวานชื่น
น้ำเกลือเป็นสัญลักษณ์แทนน้ำตาของเชลยชาวฮีบรู
ผักชีฝรั่งหนึ่งกำเป็นสัญลักษณ์แทนกิ่งหุสบ ซึ่งใช้จุ่มลงในโลหิตของ
ลูกแกะและนำมาพรมบนขื่อ วงกลบประตูในวัน
ปัสกาครั้งแรก
เทียนที่จุดไว้ 2 เล่มเป็นสัญลักษณ์แทนพระหัตถ์แห่งการทรงนำของ
พระเจ้าที่ทรงนาวฮีบรูออกจาก อียิปต์
จะมีการดื่มเหล้าองุ่น 4 ถ้วย1. ถ้วยแห่งการชำระให้บริสุทธิ์
2. ถ้วยแห่งการทรงไถ่
3. ถ้วยแห่งพระพร
4. ถ้วยแห่งการขอบคุณ
ชาวยิวยังจัดที่ว่างบนโต๊ะอาหารไว้หนึ่งที่ สำหรับเอลียาห์ผู้เผยพระวจนะ


10.ลัค บาโอเมอร์

ช่วงเทศกาลเพสะห์และเทศกาลชาวูโอต เป็นเวลาที่เคร่งขรึมมาก ชาวยิวจะ
ระลึกถึงความทนทุกข์ทรมานของพวกเขา เมื่อตกอยู่ในกำมือของชาวโรมัน
นี่คือช่วงแห่งการนับวันเวลา (เซฟิรา) แต่ในช่วงเทศกาล ลัค บาโอเมอร์ เท่านั้น
ที่ชาวยิวยังไม่เคร่งขรึม โดยมีการฉลองกันด้วยการก่อกองไฟและไปปิกนิก

11. เพ็นเทคศเต (ชาวูโอต)

เพ็นเทคศเต มาจากคำกรีก หมายถึง "ที่ห้าสิบ"
ชาวูโอต มาจากคำฮีบรู หมายถึง "สัปดาห์"
-
เป็นเทศกาลที่ระลึกถึงการประทานพระบัญญัติ 10 ประการบนภูเขาซีนาย
และยังเป็นการฉลองการเก็บเกี่ยวพืชผลด้วย
-
เป็นเทศกาลใหญ่ เทศกาลที่ 3 ของชาวยิว ซึ่งตรงกับวันที่ 50
หลังเทศกาลปัสกา กล่าวไว้ในอพยพ 23 : 16
12. วันแห่งความโศกเศร้า

ในวันที่ 9 ของเดือนออฟ (ทิชา บาฟ) ชาวยิวจะระลึกถึงการที่วิหารของเฮโรด
ถูกทำลายในปี ค.ศ. 70 

13. ปุริม



ต้นกำเนิดของเทศกาลปูริม อยู่ในหนังสือ เอสเธอร์
-
ปุริม มาจากภาษาฮีบรู แปลว่า สลาก เป็นการอ้างอิงถึงการทอดสลากของ
ฮามาน เพื่อหาวันที่จะฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว
-
ผู้ใหญ่และเด็ก มักจะแต่งตัวสวยงาม และมีการละเล่นพื้นเมืองต่างๆ
ที่เรียกกันว่า "ปุริมสปีล" และมีคุกกี้ชนิดพิเศษที่เรียกกันว่า "ฮามานตาชิน"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น