วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วัฒนธรรม

http://th.wikipedia.org 

วัฒนธรรมอิสราเอลอ่านเพิ่มเติมได้เวปนี้คะ


อิสราเอล (อังกฤษIsraelฮีบรูיִשְׂרָאֵל‎; อาหรับإِسْرَائِيل‎) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐอิสราเอล (อังกฤษState of Israelฮีบรูמְדִינַת יִשְׂרָאֵל‎; อาหรับدَوْلَة إِسْرَائِيل‎) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง ชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ปกครองในระบอบสาธารณรัฐแบบมีรัฐสภา มีพรมแดนทิศเหนือติดเลบานอน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดซีเรียทิศตะวันออกติดจอร์แดนและเวสต์แบงก์ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดอียิปต์และฉนวนกาซา และทิศใต้ติดอ่าวอกาบาในทะเลแดง และมีภูมิลักษณ์ทางภูมิศาสตร์หลากหลายภายในพื้นที่ที่ค่อนข้างเล็ก[1][2]กฎหมายพื้นฐานของอิสราเอลจำกัดความว่า อิสราเอลเป็นรัฐยิวและประชาธิปไตย และเป็นรัฐที่มีชาวยิวเป็นประชากรส่วนใหญ่ประเทศเดียวในโลก[3]
ศูนย์กลางทางการเงินของอิสราเอลอยู่ที่เทลอาวีฟ[4] ขณะที่เยรูซาเล็มเป็นนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศและเป็นเมืองหลวง แม้จะไม่ได้รับการรับรองจากนานาประเทศ ประชากรอิสราเอล ตามที่นิยามโดยกรมสถิติกลางอิสราเอล ประเมินไว้เมื่อ พ.ศ. 2555 อยู่ที่ 7,941,900 คน ในจำนวนนี้ 5,985,100 คนเป็นชาวยิว ชาวอาหรับเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของประเทศ โดยมีประชากร 1,638,500 คน รวมทั้งดรูซและเบดูอิน[5][6] ชาวอาหรับอิสราเอลส่วนใหญ่เป็นมุสลิมที่ตั้งถิ่นฐาน โดยมีส่วนที่น้อยกว่าแต่ยังถือว่ามีจำนวนมากเป็นชาวเบดูอินเนเกฟและคริสต์ศาสนิกชนอาหรับที่กึ่งตั้งถิ่นฐาน (semi-settle) ชนกลุ่มน้อยอื่นยังมีเชื้อชาติและนิกายเชื้อชาติ-ศาสนาอีกเป็นจำนวนมาก
อิสราเอลปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยมีระบบรัฐสภา การมีผู้แทนตามสัดส่วนและสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป[7] นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล และเนสเซทเป็นองค์การบริหารอำนาจนิติบัญญัติสภาเดี่ยวของอิสราเอล อิสราเอลมีความคาดหมายการคงชีพสูงสุดประเทศหนึ่งในโลก[8] อิสราเอลเป็นประเทศพัฒนาแล้ว สมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา[9] และเศรษฐกิจของอิสราเอล ใหญ่เป็นอันดับที่ 41 ของโลก ตามผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศราคาตลาดใน พ.ศ. 2554 อิสราเอลมีมาตรฐานการครองชีพสูงสุดในตะวันออกกลาง[10]

การแบ่งเขตการปกครอง

อิสราเอล เวสต์แบงก์ และ ฉนวนกาซา
ประเทศอิสราเอลแบ่งเป็น 6 เขต (เมโฮซอต [mehozot]; เอกพจน์ เมฮอซ [mehoz]) และ 13 เขตย่อย (นาฟอต [nafot]; เอกพจน์ นาฟา [nafa])
  • เขตเหนือ (North District หรือ Mehoz HaZafon เมฮอซฮาซาฟอน)
    • เมืองเอก: นาซาเรธ (Nazareth)
    • เซฟัต (Zefat)
    • คินเนเรต (Kinneret)
    • ยิซเรเอล (Yizre'el)
    • อัคโค (Akko)
    • โกลัน (Golan)
  • เขตไฮฟา (Haifa District หรือ Mehoz Hefa เมฮอซเฮฟา)
    • เมืองเอก: ไฮฟา
    • ไฮฟา (Haifa)
    • ฮาเดรา (Hadera)
  • เขตกลาง (Center District หรือ Mehoz HaMerkaz เมฮอซฮาเมอร์คาซ)
    • เมืองเอก: รามลา
    • ชารอน (Sharon)
    • เปตาห์ติกวา (Petah Tiqwa)
    • รามลา (Ramla)
    • เรโฮวอต (Rehovot)

ประชากร


กรุงเยรูซาเลม เมืองที่มีประชากรมากที่สุดในอิสราเอล
มีจำนวนประมาณ 6 ล้านคน ร้อยละ 90 อาศัยอยู่ในเขตเมืองที่ทันสมัย แต่ก็มีบางส่วนที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองเก่า ส่วนประชากรอีกร้อยละ 6 อยู่ในชนบทโดยเป็นสมาชิกสหกรณ์ 2 ลักษณะคือ คิบบุตซ์ และโมชาฟ ชาวอิสราเอลมีหลายชาติพันธ์ ทั้งชาวยิว และชนอาหรับพื้นเมือง รวมทั้งชาวยิวที่อพยพมาจากยุโรป แอฟริกา เอเชีย และประเทศตะวันออกกลางอื่น ๆ ประชากรส่วนใหญ่ อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ ๆ อาทิ เทลอาวีฟ เยรูซาเล็ม และไฮฟา ที่เหลือกระจัดกระจายตามพื้นที่การเกษตรทั่วประเทศชาวอิสราเอล ร้อยละ 82 นับถือศาสนายูดาย (Judaism) ที่เหลือนับถือศาสนาอิสลาม (14 %) คริสต์ (2%) อายุเฉลี่ย 79.46 ปี ชาย 77.33 ปี หญิง 81.7 ปี อัตราการเขียนออกอ่านได้ ร้อยละ 95.4

[แก้]เชื้อชาติ

ยุโรป 32.1% อิสราเอล 20.8% อาหรับ 19.9% แอฟริกา 14.6% เอเชีย 12.6%

[แก้]วัฒนธรรม

อิสราเอลมีวัฒนธรรมทั้งเก่า และใหม่ผสมผสานกัน กล่าวคือ วัฒนธรรมโบราณของยิวที่เก่าแก่กว่า 4000 ปี และวัฒนธรรมใหม่ที่เกิดจากการหลั่งไหลของชาวยิวจากทั่วโลกที่กลับเข้าไปตั้งถิ่นฐานในอิสราเอลภายหลังการก่อตั้งรัฐอิสราเอล เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2491 ชาวอิสราเอลร้อยละ 90 อาศัยอยู่ในเขตเมืองที่ทันสมัย แต่ก็มีบางส่วนที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองเก่า ส่วนประชากรอีกร้อยละ 6 อยู่ในชนบทโดยเป็นสมาชิกสหกรณ์ 2 ลักษณะคือ คิบบุตซ์ และโมชาฟ

[แก้]ศาสนา

ส่วนใหญ่นับถือศาสนายูดาห์ 80.1% ศาสนาอิสลาม 14.6% ศาสนาคริสต์ 2.1% ศาสนาบาไฮ และอื่น ๆ อีก 3.2%


เศรษฐกิจ

ระบบเศรษฐกิจอิสราเอลมีลักษณะผสมผสานระหว่างการที่รัฐเข้าไปมีบทบาทควบคุมกิจการที่มีกำลังการผลิตและการจ้างงานสูง ขณะที่ภาคเอกชนก็สามารถมีกิจการได้โดยเสรี โดยทั่วไปแล้ว เศรษฐกิจของอิสราเอลจะอยู่ใต้อิทธิพลของความจำเป็นด้านความมั่นคง
  • ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ต้นไม้ ธาตุทองแดง โปแตช ก๊าซธรรมชาติ หินฟอสเฟต โบรมีน
  • อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 1.9 (ปี 2549)
  • อัตราผู้ว่างงาน ร้อยละ 8.5 (ปี 2549)
  • สินค้าส่งออกที่สำคัญ เครื่องจักรและอุปกรณ์ software เพชรเจียระไน ผลิตภัณฑ์เกษตร เสื้อผ้า
  • สินค้านำเข้าที่สำคัญ วัตถุดิบ อาวุธยุทโธปกรณ์ เชื้อเพลิง เพชร เมล็ดข้าว สินค้าอุปโภคบริโภค
  • ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เยอรมนี เบลเยี่ยม สวิตเซอร์แลนด์ จีน ฮ่องกง
    • ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เบลเยี่ยม ฮ่องกง สหราชอาณาจักร
    • ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เบลเยี่ยม เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น